top of page

     รับดำเนินการทางกฎหมายและให้คำปรึกษาคดีแต่งตั้งผู้จัดการมรดกในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ครอบคลุมในทุกขั้นตอนตั้งแต่การจัดทำคำร้องเพื่อยื่นต่อศาลรวมถึงการรวบรวมและจัดเตรียมพยานและเอกสารที่เกี่ยวข้องจนเสร็จสิ้นกระบวนการตามกฎหมาย โดยทีมทนายความผู้มีประสบการณ์ในด้านกฎหมายครอบครัวและมรดก เบ็ดเสร็จจบในทุกขั้นตอน

ให้เราดำเนินการให้ดีอย่างไร 
     ทางสำนักงานมีทีมงานพร้อมให้คำปรึกษา และดำเนินการให้ทุกช่วงเวลา สามารถดำเนินการได้ทันที ทำให้ท่านผู้จัดการมรดกดำเนินจัดการทรัพย์สินของผู้ตายได้อย่างรวดเร็ว พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลตลอดจนเสร็จกระบวนการ

Estate agent giving house keys to client

"ไปโอนที่ดินที่สำนักงานที่ดินแถวบ้านแต่เจ้าหน้าที่บอกว่าให้ไปแต่งตั้งผู้จัดการมรดกก่อน"

    "ผ่อนรถหมดแล้ว แต่ธนาคารบอกว่าต้องให้ผู้จัดการมรดกมาเซ็นต์เอกสาร"

"มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว แต่พอถอนเงินปิดบัญชี ธนาคารบอกว่าต้องมีหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด"

     เคยเจอไหมกับปัญหาแบบนี้ ทำไมถึงโอนที่ดิน ทำไมถึงปิดบัญชีไม่ได้ ผู้จัดการมรดกคือใคร ทำไมต้องมีผู้จัดการมรดก แล้วจะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกอย่างไร ต้องไปที่ศาลหรือไม่ เจ้ามรดกมีคู่สมรสและมีลูก ใครจะเป็นผู้จัดการมรดก
     ทางสำนักงานมีทนายความดูแลตลอดกระบวนการศาล    ปลดล็อกคลายข้อสงสัยเพื่อให้ลูกความทุกท่านจัดการทรัพย์มรดกอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วยความมั่นใจ สะดวก และรวดเร็ว 

ทำไมจึงต้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ?

     เมื่อบุคคลได้ถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินรวมถึงสิทธิและหน้าที่ของบุุคคลนั้นจะกลายเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ในการแบ่งสรรปันส่วนมรดกนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีผู้ดำเนินการจัดแบ่งทรัพย์สินให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายและสมเจตนารมณ์ของเจ้ามรดกมากที่สุด ซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดก โดยผู้ที่มีความประสงค์จะทำหน้าที่ดังกล่าวต้องจัดทำคำร้องและจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทนายความยื่นเรื่องเป็นคดีต่อศาลพิจารณาและมีคำสั่งให้แต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก

     ติดต่อสอบถาม :
     ขอคำปรึกษา และติดต่อพูดคุยรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการได้ที่นี่

การจัดตั้งผู้จัดการมรดก

เริ่มต้นตั้งแต่การจัดเตรียมพยานและเอกสาร คำร้อง ยื่นต่อศาลเพื่อกำหนดนัดไต่สวนและพิจารณา ทั้งนี้ใช้ระยะเวลาดำเนินการอย่างเร็วที่สุดภายใน 45 วัน

บุคคลที่มีความสามารถเป็นผู้จัดการมรดก

     บุคคลที่จะร้องขอศาลให้แต่งตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้น ต้องมีสถานะความสัมพันธ์กับผู้ตายตามที่กฎหมายกำหนด  กล่าวคือ ต้องเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดก  หรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย  อีกทั้งต้องมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ครบถ้วน และไม่เป็นผู้ไร้ความสามารถ 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

     นอกจากกฎหมายจะกำหนดความสามารถของบุคคลในการเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว  ในการยื่นคำร้องต่อศาล ต้องใช้เอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาอีกด้วย  เช่น บัตรประจำตัวประชาชน, ทะเบียนบ้าน, ใบมรณบัตร, โฉนดที่ดิน, สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร และหนังสือให้ความยินยอมของทายาท

 

bottom of page